เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ : นายสมนึก จุ้ยดอนกลอย ผู้อำนวยการโรงเรียนบางปะหัน (2563)

เผยแพร่ : 1 ส.ค. 2565 โดย : นางกุลธิดา สิงห์สูง

ชื่อผลงาน : การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

ผู้วิจัย : นายสมนึก จุ้ยดอนกลอย

หน่วยงาน : โรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พระนครศรีอยุธยา

ปีพุทธศักราช : 2563

บทคัดย่อ

  การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียน บางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของการสร้างเสริมความมี จิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อกำหนดรูปแบบการสร้างเสริมความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียน บางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 4) เพื่อตรวจสอบรูปแบบ การสร้างเสริมความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา และ 5) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสร้างเสริมความมีจิตสาธารณะของ นักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา กลุ่มเป้าหมาย ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พระนครศรีอยุธยา จำนวน 618 คน และนักเรียน จำนวน 618 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างเครื่องมือวจัย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถามความมีจิตสาธารณะของ นักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ตาม ทรรศนะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ผู้ปกครองนักเรียน 2) แบบสอบถามความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยนักเรียนประเมินตนเอง 3) แบบบันทึกผลการศึกษา เอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสร้างเสริมความมี จิตสาธารณะของนักเรียน 4) รูปแบบการสร้างเสริมความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหันสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา และ 5) แบบสอบถามความเหมาะสม ของรูปแบบการสร้างเสริมความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่าที(t-test)

    ผลการวิจัย พบว่า

      ความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ก่อนการใช้รูปแบบ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง และการปฏิบัติตนเพื่อความมีจิตสาธารณะโดยการประเมินตนเองของนักเรียนก่อน การใช้รูปแบบด้านภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 

      รูปแบบการสร้างเสริมความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการหรือแนวคิดพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 4) เนื้อหาและหลักการจัดกิจกรรม 5) กระบวนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อม บทบาทครูบทบาทนักเรียนและ ผู้เกี่ยวข้อง การประเมินก่อนดำเนินการ และการประเมินระหว่างดำเนินการ และ 6) การวัดและ ประเมินผล โดยมีค่าความเหมาะสมจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด

     ความมีจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบางปะหัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนบางปะหัน หลังการใช้รูปแบบ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ค่าพัฒนาการเฉลี่ยเท่ากับ 1.21 คิดเป็นร้อยละ 24.20 และพบว่า หลังการใช้รูปแบบการสร้างเสริมนักเรียนมีจิตสาธารณะสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบทั้งโดยภาพรวมและ รายด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการปฏิบัติตนเพื่อความมีจิตสาธารณะโดยการประเมิน ตนเองของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ค่าพัฒนาการของการปฏิบัติตนเพื่อความมีจิตสาธารณะ เฉลี่ยเท่ากับ 1.01 คิดเป็นร้อยละ 20.20 และพบว่า หลังการใช้รูปแบบการสร้างเสริมนักเรียนมีการปฏิบัติ ตนเพื่อความมีจิตสาธารณะสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05